มาทำความรู้จักการ “สอบ ภาค ก.” มีกี่รูปแบบ วิชาอะไรบ้าง พร้อมตัวอย่างแนวข้อสอบ ภาค ก. ด่านแรกของการก้าวเข้าสู่อาชีพข้าราชการ คือ การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป หรือที่เรียกกันว่า “การสอบภาค ก.” จัดการสอบโดยสำนักงาน ก.พ. ซึ่งจะมีการเปิดรับสมัครสอบทุกปี ปีละ 1 ครั้ง
วุฒิที่ใช้ในการสมัครสอบภาค ก.
การสอบภาค ก. จะแบ่งตามวุฒิที่ใช้สมัคร โดยมีทั้งหมด 4 ระดับ ดังนี้
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
- ระดับปริญญาตรี
- ระดับปริญญาโท
วุฒิที่ใช้ในการสมัครสอบภาค ก.
การสอบภาค ก. มีด้วยกันทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่
- การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถประจำปี (Paper&Pencil)
- สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว
- สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้ายของระดับ ปวช./ปวท./ปวส./อนุปริญญา ปริญญาตรี และปริญญาโท
- เปิดสอบปีละ 1 ครั้ง ณ สถานศึกษาทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
- การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Exam)
- สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว
- สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาชั้นปีสุดท้ายของระดับปริญญาตรี และปริญญาโท
- เปิดสอบปีละ 1 ครั้ง ณ สถานศึกษาทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
- การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถสำหรับส่วนราชการต่าง ๆ (ภาค ก. พิเศษ)
- สำหรับผู้ที่สอบผ่าน ภาค ข. หรือ ภาค ข. และ ภาค ค. แล้ว
- สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว
- สำหรับผู้ที่มีคุณวุฒิตรงตามประกาศรับสมัครของส่วนราชการ
- สำนักงาน ก.พ. กำหนดปฏิทินการสอบ ส่วนราชการประกาศรับสมัครและส่งรายชื่อผู้สอบผ่านฯ ให้ตามที่สำนักงาน ก.พ. กำหนด
วิชาที่ใช้ในการสอบภาค ก.
การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) จะใช้วิธีการสอบข้อเขียน ซึ่งประกอบด้วยวิชา
- วิชาความสามารถและการคิดวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และปริญญาตรี ต้องสอบได้คะแนนมากกว่า 60% และปริญญาโท ต้องสอบได้คะแนนมากกว่า 65%
- วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
ทุกระดับต้องสอบได้คะแนนมากกว่า 50%
- วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
ทุกระดับต้องสอบได้คะแนนมากกว่า 60%
ทดลองทำข้อสอบ
เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบภาค ก. ได้ที่นี่ คลิก
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการสอบภาค ก. ได้ที่เว็บไซต์ https://job.ocsc.go.th หรือทาง Mobile Application : JOB OCSC
ที่มา : สำนักงาน ก.พ.