หางาน จ๊อบไทยนาว

งานราชการ VS งานเอกชน แบบไหนดีกว่ากัน ?

เชื่อว่าหลายคนคงสับสนว่าระบบงานแบบไหนดีที่ตอบโจทย์เราได้มากที่สุด เพราะไลฟ์สไตล์และเป้าหมายในชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกันไม่ว่างานราชการหรืองานเอกชน ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน การเลือกงานราชการหรืองานเอกชนจึงเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับความต้องการและความสนใจของแต่ละบุคคล Jobsthainow จึงมีคำแนะนำมาฝาก เพื่อให้คุณสามารถพิจารณาได้

งานเอกชน

1. ความยืดหยุ่นในการทำงาน บางตำแหน่งสามารถทำงานนอกสถานที่ได้ หรือสามารถปรับเวลาการทำงานได้ให้เหมาะกับความต้องการและสภาพการทำงานของคุณ เช่น อาจทำงานเต็มเวลาหรือทำงานแบบกะเวลา

2. โอกาสในการเติบโตและความก้าวหน้า งานเอกชนมีโอกาสในการพัฒนาทักษะและเติบโตอย่างรวดเร็ว คุณอาจมีโอกาสทำงานในสิ่งที่ท้าทาย ยิ่งทำผลงานได้ดีเท่าไหร่ ย่อมได้รับความก้าวหน้าทั้งหน้าที่การงานและการเลื่อนตำแหน่ง

3. อิสระในการตัดสินใจ ในงานเอกชนคุณสามารถมีอิสระในการตัดสินใจ ไม่จำเป็นต้องรอให้หัวหน้าตัดสินใจ สามารถลงมือทำได้เลย เพื่อความรวดเร็วในการทำงาน

4. รายได้ค่อนข้างสูง เงินเดือนเริ่มต้นของงานเอกชนค่อนข้างสูง ยิ่งมีความสามารถสูงมากเท่าไร เงินเดือนยิ่งสูงเท่านั้น เพื่อดึงดูดคนที่มีความสามารถมาร่วมงานด้วย นอกจากเงินเดือนแล้วยังมีรายได้เพิ่มเติม เช่น ค่าเดินทาง, ค่าที่พัก, ค่าอาหาร เป็นต้น

งานราชการ

1. ความมั่นคง ความมั่นคงถือว่าเป็นจุดเด่นของงานราชการเลยก็ว่าได้ งานราชการเป็นงานที่สามารถทำไปเรื่อย ๆ จนถึงวันเกษียณ ไม่มีการไล่ออก หากไม่มีการทำผิดวินัยร้ายแรง ถือว่าเป็นงานที่เสี่ยงตกงานต่ำ เมื่อเทียบกับเอกชน

2. สวัสดิการ สวัสดิการของงานราชการค่อนข้างครอบคลุมไปถึงคนในครอบครัว ทั้งพ่อ แม่ ลูก สามารถใช้สิทธิ์ราชการเบิกรักษาได้ อีกทั้งยังมีบำเหน็จหรือบำนาญไว้ให้ใช้หลังเกษียณอายุอีกด้วย

3. การแข่งขันในสายงาน งานราชการเป็นงานที่ทำตามขั้นตอนแบบแผนที่ชัดเจน การแข่งขันในสายงานจึงไม่สูง ซึ่งต่างจากงานเอกชนที่ต้องมีผลงานโดดเด่น

4. ทำงานใกล้บ้าน หน่วยงานราชการ กระจายอยู่ทุกภูมิภาคในประเทศไทย ทำให้ผู้ที่ทำงานราชการ สามารถทำงานอยู่ในภูมิลำเนาของตัวเองได้

บทความล่าสุด

การแนะนำตัวเองในช่วงสัมภาษณ์งานถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะสร้างความประทับใจแรกให้กับผู้สัมภาษณ์ หลายคนมักกังวลว่าจะพูดอะไรดี หรือกลัวพูดยืดยาวเกินไป...

การเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์งานถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สมัครมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น...

การสอบ ก.พ. หรือการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)...

การสอบ ก.พ. คือ การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปตามมาตรฐานกลางของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.)...

การสอบงานราชการส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ภาค ก (ความรู้ทั่วไป) และภาค ข (ความรู้เฉพาะตำแหน่ง) โดยภาค ก มักประกอบด้วย วิชาความสามารถทั่วไป...

หากเปรียบเทียบเฉพาะเงินเดือนเริ่มต้น "เอกชน" มักให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่า โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางถึงใหญ่ ส่วน "รัฐวิสาหกิจ" อยู่ในระดับกลางถึงสูง...


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ของเราให้สะดวกต่อการใช้งานของคุณ การดำเนินการต่อบนเว็บไซต์นี้ถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้ นโยบายการใช้คุกกี้